วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แหล่งปลาชุกชุม

        3 แหล่งปลาชุกชุมของโลก


              แหล่งปลาชุกชุม เป็นบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำอุ่นไหลมาปะทะกัน จะมีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งปลาชุกชุม มีประโยชน์ทางด้านการประมง เช่น บริเวณคูริลแบงส์ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกุฏรชิโวและกระแสน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลมาปะทะกัน เป็นต้น



คูริลแบงก์ (Kuril Bank)

เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกุโระชิโวะ(Kuroshio)มาบรรจบกับกระแสน้ำเย็นโอยะชิโวะ (Oyashioมหาสมุทรแปซิฟิกที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น 
      แหล่งอาหารปลาที่สำคัญ ถือเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากของทวีปเอเชีย และ เป็นแหล่งประมงที่สำคัญที่สุดของทวีปเอเชียด้วย โดยประเทศที่ทำการประมงรายใหญ่ของเอเชีย นอกจากญี่ปุ่นแล้วยังมีจ ประเทศจีนอีกด้วย




 
สัตว์ทะเลบริิเวณแถบคูริลแบงก์        

                     ดอกเกอร์แบงก์ (Dogger Bank)
เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก ที่ทะเลเหนือและทะเลนอร์วีเจียน ทำให้มีแพลงตอน เป็นอาหารปลาจำนวนมาก
             มีลักษณะเป็นเนินทรายขนาดใหญ่ เป็นเนินตื้นใต้ทะเลในทะเลเหนือ อยู่นอกจากฝั่งอังกฤษทางทิศตะวันออกราว 100 กม. (62 ไมล์) มีพื้นที่ครอบคลุม 17,600 ตร.กม. (6,800 ตร.ไมล์) โดยมีความยาวราว 260 กม. (160 ไมล์) และความกว้างสูงสุดคือ 97 กม. (60 ไมล์) ความลึกอยู่ระหว่าง 15 ถึง 36 เมตร (49 ถึง 118 ฟุต) และตื้นกว่าทะเลโดยรอบราว 20 เมตร (66 ฟุต)
            ดอกเกอร์แบงก์ป็นแหล่งประมงที่สำคัญของทวีปยุโรป
            ประเทศที่จับปลาได้มาก  สหราชอาณาจักร  ไอซ์แลนด์  นอร์เวย์ / บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์เวียร์




                                                การสำรวจสัตว์ทะเลบริเวณดอกเกอร์แบงก์ 
                      
แกรนด์แบงส์ (Grand Banks
      เป็นบริเวณที่กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์มาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ที่มหาสมุทรแอตแลนติก
      เป็นบริเวณน้ำตื้นของไหล่ทวีปอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา มีความลึกระหว่าง 80 ถึง 330 ฟุต (24–101 เมตร) บริเวณนี้ ทำให้อุดมไปด้วยปลาและสัตว์น้ำมากมาย อาทิ ปลาแอตแลนติกคอด ปลากระโทงดาบ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นอาณาจักรของนกทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อื่น ๆ อย่าง แมวน้ำ โลมา วาฬ
    ข้อเสียของแกรนด์แบงค์คือ มีหมอกเยอะในบริเวณนั้น
    นอกจากนั้น ยังมีคาดว่า เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก ชนภูเขาน้ำแข็งบริเวณนี้ แคนาดาประกาศเป็นเขตน้ำด้านนอกของตนตั้งแต่ ค.ศ. 1977 เป็นบริเวณที่มีอันตรายจากหมอกทึบและภูเขาน้ำแข็งโดยที่เป็นเส้นทางสัญจรของเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย


อุตสหกรรมประมงในบริเวณแกรนด์แบงส์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น